Category Archives: แขวงสามเสนนอก
แขวงสามเสนนอก
แขวงสามเสนนอก เป็นแขวงหนึ่งในพื้นที่เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร เป็นแขวงที่มีขนาดเล็กที่สุดของเขตห้วยขวาง สภาพโดยทั่วไปของแขวงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยและหนาแน่นปานกลาง และเป็นที่ตั้งของสถานีภาวนา รถไฟฟ้าสายสีเหลือง
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]
แขวงสามเสนนอกตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเขตห้วยขวาง มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงจันทรเกษม (เขตจตุจักร) และแขวงลาดพร้าว (เขตลาดพร้าว) มีคลองน้ำแก้วและคลองลาดพร้าวเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงสะพานสองและแขวงวังทองหลาง (เขตวังทองหลาง) มีคลองลาดพร้าวเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงบางกะปิ (เขตห้วยขวาง) มีคลองชวดใหญ่ (ลำรางยมราช) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงห้วยขวาง (เขตห้วยขวาง) และแขวงรัชดาภิเษก (เขตดินแดง) มีซอยพระราม 9 ซอย 13 (ศูนย์วิจัย 4), แนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงห้วยขวางกับแขวงสามเสนนอก, ถนนเทียมร่วมมิตร, ถนนประชาอุทิศ, คลองชวดบางจาก (ปั้นจาด), ถนนสุทธิสารวินิจฉัย และถนนรัชดาภิเษกเป็นเส้นแบ่งเขต
ห้วยขวาง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]
เขตห้วยขวางตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางเหนือของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตจตุจักรและเขตลาดพร้าว มีคลองน้ำแก้วและคลองลาดพร้าวเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตวังทองหลาง เขตบางกะปิ และเขตสวนหลวง มีคลองลาดพร้าวและคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตวัฒนา มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตราชเทวีและเขตดินแดง มีถนนอโศก-ดินแดงและถนนรัชดาภิเษกเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ
[แก้]

เขตห้วยขวาง ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2516[2] โดยแยกพื้นที่การปกครองมาจากเขตพญาไท 2 แขวง คือ แขวงห้วยขวางและแขวงบางกะปิ จากนั้นใน พ.ศ. 2521 ได้มีพระราชกฤษฎีกาโอนแขวงดินแดงจากเขตพญาไทและแขวงสามเสนนอกจากเขตบางกะปิมารวมกับเขตห้วยขวาง และโอนพื้นที่บางส่วนของเขตไปรวมกับเขตพญาไท[3] เพื่อจัดขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรของแต่ละเขตให้มีความเหมาะสม ทำให้เขตห้วยขวางมีพื้นที่ปกครอง 4 แขวง
จนกระทั่งใน พ.ศ. 2536 กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตห้วยขวาง โดยแยกแขวงดินแดงไปจัดตั้งเป็นเขตดินแดง[4]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]
เขตห้วยขวางแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1.
|
ห้วยขวาง | Huai Khwang |
5.342
|
27,325
|
5,115.13
|
![]() |
2.
|
บางกะปิ | Bang Kapi |
5.408
|
19,582
|
3,620.93
|
|
4.
|
สามเสนนอก | Sam Sen Nok |
4.283
|
36,785
|
8,588.61
|
|
ทั้งหมด |
15.033
|
83,692
|
5,567.22
|
หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตดินแดง
ประชากร
[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตห้วยขวาง[5] |
---|
การคมนาคม
[แก้]
- ถนนสายหลัก
- ถนนเพชรบุรี
- ถนนอโศกมนตรี
- ถนนประดิษฐ์มนูธรรม
- ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
- ถนนเทียมร่วมมิตร
- ถนนพระราม 9
- ถนนเพชรอุทัย
- ถนนลาดพร้าว
- ถนนสุทธิสารวินิจฉัย
- ถนนประชาอุทิศ
- ถนนวัฒนธรรม
- ถนนเพชรพระราม
- ทางพิเศษศรีรัช
- ทางพิเศษฉลองรัช
- รถไฟฟ้า
- รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล มี 4 สถานี คือ สถานีพระราม 9 สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สถานีห้วยขวาง และสถานีสุทธิสาร
- รถไฟฟ้าสายสีเหลือง มี 1 สถานี คือ สถานีภาวนา
- รถไฟฟ้าสายสีส้ม (กำลังก่อสร้าง) มี 3 สถานี คือ สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สถานีรฟม. และสถานีวัดพระราม ๙
สถานที่สำคัญ
[แก้]

- กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)
- กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- กรมการศาสนา
- กรมโยธาธิการและผังเมือง
- สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
- ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
- สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
- สถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีเวิลด์
- วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
- วัดอุทัยธาราม (บางกะปิ)
- การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
- บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
- สถานีวิทยุ อสมท
- สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี
- สำนักข่าวไทย
- องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
- โรงละครกรุงเทพ
- โรงพยาบาลพระราม 9
- สถานีตำรวจนครบาลมักกะสัน
- เซ็นทรัล แกรนด์ พระราม 9
- การทางพิเศษแห่งประเทศไทย