Category Archives: แขวงคลองตันเหนือ
แขวงคลองตันเหนือ
แขวงคลองตันเหนือ เป็นแขวงหนึ่งของเขตวัฒนา เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ทางตอนกลางของเขตวัฒนา เป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และการทูต
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]
แขวงคลองตันเหนือตั้งอยู่ทางตอนกลางของเขตวัฒนา มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงบางกะปิ (เขตห้วยขวาง) และแขวงสวนหลวง (เขตสวนหลวง) มีคลองแสนแสบและคลองตันเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงสวนหลวง (เขตสวนหลวง) มีคลองตันเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงพระโขนงเหนือ (เขตวัฒนา) แขวงพระโขนง และแขวงคลองตัน (เขตคลองเตย) มีซอยแยกซอยพัฒนเวศม์ 12, ซอยพัฒนเวศม์ 12, ซอยปรีดี พนมยงค์ 26 (พัฒนเวศม์), ถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์), ซอยปรีดี พนมยงค์ 25 (เจริญมิตร), ซอยเอกมัย 10 แยก 6 (เจริญมิตร), ซอยเอกมัย 10 (เจริญมิตร), ซอยสุขุมวิท 63 (เอกมัย) และถนนสุขุมวิทเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงคลองเตยเหนือ (เขตวัฒนา) มีซอยสุขุมวิท 31 (สวัสดี) และซอยสี่แยกสวัสดีเป็นเส้นแบ่งเขต
เขตวัฒนา เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และการทูต
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]
เขตวัฒนาตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตริมฟากถนนสุขุมวิทฝั่งเลขคี่ ตั้งแต่ซอยสุขุมวิท 1 ถึงซอยสุขุมวิท 81 โดยติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตราชเทวีและเขตห้วยขวาง มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตสวนหลวง มีคลองตัน คลองพระโขนง และคลองบางนางจีนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดต่อกับเขตพระโขนงและเขตคลองเตย มีซอยสุขุมวิท 81 (ศิริพจน์) และถนนสุขุมวิทฟากเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตปทุมวัน มีขอบทางรถไฟสายแม่น้ำฟากตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต
[แก้]
ชื่อเขต วัฒนา เป็นชื่อที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2540[2] คำว่า วัฒนา แผลงมาจากคำว่า วฑฺฒน ในภาษาบาลี
ประวัติศาสตร์
[แก้]
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2538 มีประกาศกรุงเทพมหานครให้เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตคลองเตย เป็นเขตคลองเตย และเขตคลองเตย สาขา 1 แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 แขวง โดยใช้ถนนสุขุมวิทเป็นเส้นแบ่งเขต โดยให้พื้นที่แขวงทางทิศเหนือของถนนสุขุมวิท ประกอบด้วยแขวงคลองเตยเหนือ แขวงคลองตันเหนือ และแขวงพระโขนงเหนือ เป็นพื้นที่ของสำนักงานเขตคลองเตยสาขา 1 ส่วนเขตการปกครองด้านทิศใต้ประกอบด้วยแขวงคลองเตย แขวงคลองตัน และแขวงพระโขนง เป็นพื้นที่เขตการปกครองของเขตคลองเตย (ปัจจุบัน) ต่อมาได้มีการประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตคลองเตย และจัดตั้งพื้นที่ของสำนักงานเขตคลองเตย สาขา 1 เป็น เขตวัฒนา โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]
ท้องที่เขตวัฒนาแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1.
|
คลองเตยเหนือ | Khlong Toei Nuea |
2.109
|
9,544
|
4,525.37
|
![]() |
2.
|
คลองตันเหนือ | Khlong Tan Nuea |
7.031
|
48,843
|
6,946.81
|
|
3.
|
พระโขนงเหนือ | Phra Khanong Nuea |
3.425
|
22,128
|
6,460.73
|
|
ทั้งหมด |
12.565
|
80,515
|
6,407.88
|
ประชากร
[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตวัฒนา[3] |
---|
การคมนาคม
[แก้]
- ทางสายหลัก
- ถนนสุขุมวิท
- ถนนอโศกมนตรี (สุขุมวิท 21)
- ถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์)
- ถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท 77)
- ซอยสุขุมวิท 3 (นานาเหนือ)
- ซอยสุขุมวิท 55 (ทองหล่อ)
- ซอยสุขุมวิท 63 (เอกมัย)
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
- ทางพิเศษฉลองรัช
- ทางสายรอง
|
|
- ระบบขนส่งมวลชน
สถานที่ต่าง ๆ
[แก้]
- โรงพยาบาล
- โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ซอยสุขุมวิท 3 ถนนสุขุมวิท
- โรงพยาบาลสุขุมวิท (ใกล้สถานีรถไฟฟ้าเอกมัย)
- สถานที่ราชการ
- สถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
- สถานที่สำคัญทางวัฒนธรรม
สถานศึกษา
[แก้]
อุดมศึกษา
[แก้]
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซอยสุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
[แก้]
- โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ซอยสุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท
โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ม.1–6)
[แก้]
โรงเรียนประถมศึกษาที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัย–มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
[แก้]
โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
[แก้]
- โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง
- โรงเรียนสวัสดีวิทยา
- โรงเรียนแจ่มจันทร์
- โรงเรียนวัดภาษี
- โรงเรียนวิจิตรวิทยา
- โรงเรียนสุเหร่าบางมะเขือ (ปรีดี พนมยงค์ อนุสรณ์)
- โรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน
- โรงเรียนสุเหร่าสามอิน
โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)
[แก้]
- โรงเรียนนานาชาติเอกมัย
- โรงเรียนเกษมพิทยา
- โรงเรียนพระหฤทัยพัฒนเวศม์
- โรงเรียนนานาชาตินิสท์
- โรงเรียนนานาชาติดิเออร์ลี่เลิร์นนิ่งเซนเตอร์
- โรงเรียนนานาชาติโมเดิร์น กรุงเทพฯ
- โรงเรียนอนุบาลนานาชาติเฟิรสต์สเตปส์
- โรงเรียนดิ อเมริกัน สคูล ออฟ แบงค็อก สุขุมวิท
- โรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูวส์ กรุงเทพ
- โรงเรียนแอ๊ดเวนตีสเอกมัย
- โรงเรียนอนุบาลใจดี
- โรงเรียนอนุบาลดารารัตน์
- โรงเรียนทอสี
- โรงเรียนแสงหิรัญ
- โรงเรียนไทยคริสเตียน
- โรงเรียนพระแม่มารีพระโขนง
- โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
- โรงเรียนอนุบาลมิตรเด็ก
- โรงเรียนอนุบาลจุฑาภรณ์
- โรงเรียนอนุบาลวัดธาตุทอง
- โรงเรียนอนุบาลนานาชาติสี่พี่น้อง
- โรงเรียนอนุบาลนานาชาติทาเคโนโกะ
- โรงเรียนอนุบาลนานาชาตินิวแบมบิโน
- โรงเรียนนานาชาติสิงคโปร์กรุงเทพ
- โรงเรียนนานาชาติซิสเต็มส์ ลิตเทิลเฮาส์
- โรงเรียนอนุบาลนานาชาติเลดี้เบิร์ด
- โรงเรียนอนุบาลนานาชาติคิดส์อะคาเดมี่
- โรงเรียนนานาชาติเวลล์ส-ทองหล่อ
- โรงเรียนอนุบาล ไอ พี ซี อินเตอร์เนชั่นแนล
- โรงเรียนอนุบาลนานาชาติฮาร์โรว์
- โรงเรียน อนุบาล คิราคิร่า คิดส์ นานาชาติ
- โรงเรียนนานาชาติบางกอก พรีแพราธอรี แอนด์ เซ็กเคินเดอรี
- โรงเรียนนานาชาติแอ๊ดเวนตีส กรุงเทพ
- โรงเรียนอนุบาลนานาชาติออยสก้า
- โรงเรียนนานาชาติไอวี่บาวนด์
- โรงเรียนอนุบาลนานาชาติคิดส์ คิงดอม
- โรงเรียนอนุบาลอัสสรัตน์
อาชีวศึกษา
[แก้]
กศน
[แก้]