Category Archives: แขวงตลาดน้อย

แขวงตลาดน้อย

แขวงตลาดน้อย เป็นแขวงหนึ่งในพื้นที่การปกครองของเขตสัมพันธวงศ์ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตที่มีขนาดพื้นที่เล็กและมีจำนวนประชากรน้อยที่สุด สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้าหนาแน่นและแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม

ประวัติศาสตร์

[แก้]

พื้นที่บริเวณตลาดน้อยเป็นถิ่นอยู่อาศัยของชาวจีนโพ้นทะเลและชาวไทยเชื้อสายจีนอีกแห่งหนึ่ง นอกเหนือจากย่านเยาวราชและสำเพ็งที่อยู่ใกล้เคียง มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ยาวนานตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมเป็นตลาดที่คึกคักมาก โดยเรียกกันในภาษาแต้จิ๋วว่า “ตั๊กลักเกี้ย” (จีน噠叻仔ลูกตลาด, ตลาดน้อย) มีที่มาจากเจ้าสัวเนียม หรือเจ๊สัวเนียม ผู้เป็นเจ้าของที่ดินแถบนี้มีลูกสาวคนหนึ่งชื่อ “น้อย” เป็นท่าเรือและชุมชนที่รุ่งเรืองก่อนเยาวราช โดยมีชาวโปรตุเกส เป็นชนกลุ่มแรกที่เข้ามาอาศัยอยู่ จากนั้นจึงตามมาด้วยชาวจีน, ชาวญวน รวมถึงเขมรมาปักหลักอาศัย[3]

สภาพทางกายภาพ

[แก้]

ปัจจุบันมีสภาพเป็นบ้านเรือนที่อาศัยของผู้คนในลักษณะอาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก และตรอกซอกซอยต่าง ๆ และยังมีศาสนสถานสำคัญของหลายศาสนา และมีสิ่งก่อสร้างที่เป็นจุดเด่น เช่น ริเวอร์ซิตี้ หรือ สะพานพิทยเสถียร อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ โดยหลายอาคารนั้นเป็นอาคารที่เก่าควรค่าแก่การอนุรักษ์ มีมากถึง 64 อาคาร [3]

ตลาดน้อยเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม ด้วยความเก่าแก่ของอาคารสถานที่ และวิถีชีวิตของผู้คนที่ยังคงเหมือนเดิมเช่นในอดีตอยู่ โดยมีถนนสายหลัก คือ ถนนเจริญกรุง บนพื้นที่ติดกับแขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในซอยเจริญกรุง 22 หรือ ตรอกตลาดน้อย ภายในซอยมีหลายสถานที่ ๆ ได้รับความสนใจ เช่น ศาลเจ้าโรงเกือก ศาลเจ้าโจวซือกงบ้านโซวเฮงไถ่ บ้านโบราณที่มีอายุกว่า 200 ปี สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบซื่อเหอย่วนของจีน, เซียงกง หรือ ซอยวานิช 2 แหล่งรวมอะไหล่รถยนต์ที่มีชื่อเสียง, โบสถ์กาลหว่าร์ ศาสนสถานของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกกรมเจ้าท่า และธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย ซึ่งเป็นธนาคารแห่งแรกของประเทศไทย ตัวอาคารธนาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบโบซาร์ผสมนีโอคลาสสิก โดยก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2451 ติดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันก็ยังคงเปิดให้บริการอยู่ ซึ่งอาคารแห่งนี้เคยได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ASA ในปี พ.ศ. 2525 และบูรณะปรับปรุงในปี พ.ศ. 2538[4] [5] [6] [7] นอกจากนี้แล้วถนนเจริญกรุงในแถบนี้ในอดีตยังปรากฏร่องรอยรางของรถรางบนพื้นถนนอีกด้วย ก่อนจะถูกราดทับด้วยยางในปลายปี พ.ศ. 2558[8]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

แขวงตลาดน้อยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขตสัมพันธวงศ์ มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงอื่นเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

เขตสัมพันธวงศ์ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตที่มีขนาดพื้นที่เล็กและมีจำนวนประชากรน้อยที่สุด สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้าหนาแน่นและแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

เขตสัมพันธวงศ์ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ประวัติศาสตร์

[แก้]

เขตนี้เป็นสถานที่ที่มีชาวจีนอาศัยอยู่มาตั้งแต่ตอนแรกเริ่มกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว พวกเขาได้ย้ายมาจากเขตพระนครในปัจจุบัน โดยมีถนนวานิช 1 หรือ “ถนนสำเพ็ง” เป็นศูนย์กลางของชุมชนชาวจีน จวบจนสร้างถนนเยาวราชในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2435 ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางชาวจีนจนถึงปัจจุบัน

อำเภอสัมพันธวงศ์ สร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2475 ตั้งอยู่ที่สามแยกถนนทรงวาดตัดกับถนนปทุมคงคา ตำบลศาลเจ้าแม่ทับทิม ซึ่งอยู่ในเขตวัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร จึงสันนิษฐานได้ว่าอำเภอสัมพันธวงศ์คงตั้งชื่อตามวัดที่ตั้งนั่นเอง (ปัจจุบันสำนักงานเขตย้ายไปตั้งที่ถนนโยธา แขวงตลาดน้อย) โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 14 ตำบล

ต่อมาได้มีการยุบรวม “อำเภอสามแยก” ซึ่งตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ที่ตึกแถวสี่แยกถนนทรงวาดกับถนนเยาวราช มีเขตปกครอง 6 ตำบล และ “อำเภอจักรวรรดิ” ซึ่งตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ข้างสถานีตำรวจนครบาลจักรวรรดิ มีเขตปกครอง 18 ตำบล มาขึ้นกับอำเภอสัมพันธวงศ์ แล้วแบ่งเขตปกครองใหม่ออกเป็น 3 ตำบล คือ ตำบลสัมพันธวงศ์ ตำบลจักรวรรดิ และตำบลตลาดน้อย

ต่อมาใน พ.ศ. 2515 มีประกาศคณะปฏิวัติจัดการบริหารราชการใหม่ในเขตนครหลวง อำเภอสัมพันธวงศ์ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตสัมพันธวงศ์ แบ่งเขตปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

เขตสัมพันธวงศ์แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2566)
แผนที่
1.
จักรวรรดิ Chakkrawat
0.484
5,886
12,161.16
แผนที่
2.
สัมพันธวงศ์ Samphanthawong
0.483
7,324
15,163.56
3.
ตลาดน้อย Talat Noi
0.449
6,336
14,111.36
ทั้งหมด
1.416
19,546
13,803.67

ประชากร

[แก้]

การคมนาคม

[แก้]

ทางสายสำคัญในเขตสัมพันธวงศ์ ได้แก่

สถานที่สำคัญ

[แก้]

ถนนเยาวราช

[แก้]

ถนนเยาวราช มีความยาวประมาณ 1.5 กิโลเมตร โดยเกือบตลอดถนนทั้งสายจะเต็มไปด้วยร้านขายทองและร้านอาหาร และเป็นชุมชนคนไทยเชื้อสายจีนอาศัยมากที่สุดในประเทศไทย

ในปัจจุบันมีประตูซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของไชนาทาวน์อยู่ ซึ่งได้สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖ รอบ ตั้งอยู่กลางวงเวียนโอเดียน สุดถนนเยาวราช

วัดและศาลเจ้า

[แก้]

วัดและศาลเจ้าที่สำคัญ ได้แก่

สถานที่สำคัญอื่น ๆ

[แก้]

เทศกาล

[แก้]

ในช่วงเทศกาล ถนนเยาวราชจะปิดทั้งสาย

Call Now Button