Category Archives: เขตบางรัก
เขตบางรัก
เขตบางรัก เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตในฝั่งพระนครของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทางตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับเขตปทุมวันทางทิศเหนือและตะวันออก เขตสาทรทางทิศใต้ และติดต่อกับเขตสัมพันธวงศ์และเขตคลองสาน (ตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา) ทางตะวันตก
เขตบางรักเป็นบริเวณหนึ่งที่ชาวยุโรปเข้ามาตั้งรกรากเป็นบริเวณแรก ๆ ในกรุงเทพมหานคร เช่น คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ซึ่งตั้งสวนท่านเป็นโบสถ์โรมันคาทอลิก (ปัจจุบันคือ อาสนวิหารอัสสัมชัญ) การตั้งโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยของคณะมิชชันนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียน, การตั้งสถานทูตฝรั่งเศสและโปรตุเกส และการตั้งโกดังเก็บสินค้าไปจนถึงอาคารสำนักงานของบริษัทอีสต์เอเชียติก เป็นต้น[2] ในปี 2559 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบได้ย้ายที่ตั้งสำนักงานใหญ่จากที่เขตคลองเตย มาอยู่ที่อาคารไปรษณีย์กลาง ในเขตบางรัก พร้อมทั้งสนับสนุนและประกาศให้พื้นที่รอบถนนเจริญกรุงในเขตบางรักให้เป็นเขตธุรกิจสร้างสรรค์[3]ในชื่อ “สร้างสรรค์เจริญกรุง”[4] คำขวัญของเขตบางรักได้ให้ลักษณะของเขตว่าเป็น “โซนนิงสถานบริการ” (เช่น พัฒน์พงศ์, อดีตซอยประตูชัย), “ย่านที่พักโรงแรมหรู” (เช่น โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ, โรงแรมเชอราตัน) และ “แหล่งเรียนรู้โรงเรียนดัง” (เช่น โรงเรียนเอกชนเก่าแก่ โรงเรียนอัสสัมชัญ, โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย, โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์) นอกจากนี้เขตบางรักยังเป็นที่รู้จักจากอาคารเก่าสถาปัตยกรรมโคโลเนียลและตะวันตก[5] เช่น ศุลกสถาน, อาคาร อีสต์ เอเชียติก, ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์ และพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ในปัจจุบันเขตบางรักยังเป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงาน ตึกระฟ้าจำนวนมากในย่านสีลม ซึ่งเป็นหนึ่งในบริเวณที่มีมูลค่าที่ดินสูงที่สุดในประเทศไทย อยู่ที่ 1.7 ล้านบาท ต่อตารางวา ในการคาดการณ์ปี 2560 สูงเป็นอันดับที่สามในประเทศไทยรองจากย่านสยามสแควร์ และย่านชิดลมในเขตปทุมวัน[6]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]
เขตบางรักมีพื้นที่ทั้งหมด 5.54 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้[7]
- ทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตปทุมวัน มีถนนพระรามที่ 4 ฟากใต้ เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตสาทร มีคลองสาทรเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตคลองสาน มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเขตสัมพันธวงศ์ มีคลองผดุงกรุงเกษมเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ
[แก้]

อำเภอบางรักก่อตั้งขึ้นเป็นทางการในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2450 โดยการรวมพื้นที่อำเภอชั้นในของพระนคร 4 อำเภอตามประกาศกระทรวงนครบาล นับเป็น 1 ใน 8 อำเภอของกรุงเทพฯ ในขณะนั้น ต่อมาใน พ.ศ. 2515 หลังการประกาศของคณะปฏิวัติให้จัดตั้งกรุงเทพมหานครขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี อำเภอบางรักจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ส่วนตำบลต่าง ๆ ก็เปลี่ยนสถานะฐานะเป็นแขวงแทน[8]
เขตการปกครอง
[แก้]
เขตบางรักแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ดังนี้[7]
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่น (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1.
|
มหาพฤฒาราม | Maha Phruettharam |
0.889
|
9,865
|
11,096.74
|
![]() |
2.
|
สีลม | Si Lom |
2.074
|
16,311
|
7,864.51
|
|
3.
|
สุริยวงศ์ | Suriyawong |
0.820
|
4,172
|
5,087.81
|
|
4.
|
บางรัก | Bang Rak |
0.689
|
2,413
|
3,502.18
|
|
5.
|
สี่พระยา | Si Phraya |
1.064
|
10,160
|
9,548.87
|
|
ทั้งหมด |
5.540
|
42,921
|
7,747.47
|
ประชากร
[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางรัก[10] |
---|
เศรษฐกิจ
[แก้]

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบได้สนับสนุนให้บริเวณเขตบางรักช่วงถนนเจริญกรุงเป็นพื้นที่เขตธุรกิจสร้างสรรค์ ในปัจจุบันเขตบางรักเป็นที่ตั้งของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสร้างสรรค์ คือ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) และ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA)[11] นอกจากนี้ในเขตบางรักประกอบไปด้วยอาคารสำนักงานและอาคารระฟ้าหลายแห่ง เช่น จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์, คิง เพาเวอร์ มหานคร และตึกสเตท
การท่องเที่ยว
[แก้]
เขตบางรักเป็นที่ตั้งของโรงแรมหรูที่มีอายุเก่าแก่หลายแห่ง เช่น โรงแรมดุสิตธานี, โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ, โรงแรม ดับเบิ้ลยู กรุงเทพฯ, โรงแรมแชงการีลา นอกจากนี้เขตบางรักยังเป็นที่รู้จักจากสถานที่ท่องเที่ยวกลุ่มอาคารเก่าแก่สถาปัตยกรรมยุคโคโลเนียลและตะวันตก เช่น ศุลกสถาน (โรงภาษีร้อยชักสาม), ตึกเก่าอาคาร อีสต์ เอเชียติก, บ้านสาทร, พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก, อาคารไปรษณีย์กลาง และ ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์