Category Archives: ตำบลบางขนาก

ตำบลบางขนาก

ตำบลบางขนาก เป็นตำบลหนึ่งใน 10 ตำบลของ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว เป็น 1 ใน 11 อำเภอของจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่ชุมทางรถไฟโดยมีสถานีรถไฟชุมทางคลองสิบเก้าที่เป็นทางแยกทางรถไฟสายชุมทางแก่งคอย–คลองสิบเก้า[1][2] และทางรถไฟสายกรุงเทพ–อรัญประเทศ–ปอยเปต[3][4] และมีสถานีรถไฟบางน้ำเปรี้ยวเป็นสถานีประจำอำเภอ และยังเป็นพื้นที่ของปากคลองแสนแสบ เป็นคลองที่ขุดขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกงเข้าด้วยกัน รวมถึงเป็นพื้นที่ชุมทางของ 3 แม่น้ำซึ่งแม่น้ำนครนายกบรรจบกับแม่น้ำปราจีนบุรีที่ปากน้ำโยธะการวมเป็นแม่น้ำบางปะกง

สถานีรถไฟบางน้ำเปรี้ยว

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอบางน้ำเปรี้ยวมีอาณาเขตติดต่อกับท้องที่การปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

สถานีรถไฟชุมทางคลองสิบเก้า
ที่หยุดรถไฟโพรงอากาศ (อดีตสถานีรถไฟโพรงอากาศ) เคยเป็นสถานี ยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2528[5]

ประวัติ

[แก้]

อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ได้รับการจัดตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 เดิมตั้งอยู่ที่บ้านต้นสำโรง ตำบลบางขนาก มีหลวงพิศาลเกษตรสมบูรณ์เป็นนายอำเภอและใช้บ้านพักเป็นที่ว่าการอำเภอ ต่อมาได้ปลูกสร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2448 ที่หมู่ 2 ตำบลบางน้ำเปรี้ยว ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ได้สร้างที่ว่าการอำเภอใหม่ด้วยงบประมาณของรัฐ ตั้งอยู่ฝั่งเหนือของคลองแสนแสบ (คลองบางขนาก) และในปี พ.ศ. 2540 ได้สร้างที่ว่าการอำเภอแห่งใหม่โดยสร้างอยู่ตรงข้ามที่ว่าการอำเภอเดิม และใช้เป็นสถานที่ราชการมาจนทุกวันนี้

การที่มีชื่อว่า “อำเภอบางน้ำเปรี้ยว” ตามคำบอกเล่าของผู้สูงอายุว่าอำเภอบางน้ำเปรี้ยวนี้เดิม เมื่อถึงฤดูแล้งน้ำในลำคลองแห้งขอดขุ่นข้นมีรสเปรี้ยว จึงได้ชื่อว่าตำบลบางน้ำเปรี้ยว และขนานนามอำเภอว่า “อำเภอบางน้ำเปรี้ยว” แต่เดิมมามีสภาพเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ตอนใต้ราบลุ่มต่ำตอนเหนือสูงขึ้นมีพงหญ้าต้นโขมง เป็นที่อาศัยของช้างป่า และสัตว์ป่าหลายชนิด มีราษฎรประกอบอาชีพทำนา อยู่แถบริมคลองเพียงเล็กน้อย ต่อมา ร.ศ. 311 บริษัท คูนาสยาม ได้เข้ามาทำการขุดคลอง 18 และคลอง 19คลอง 20คลอง 21 และจัดทำประตูระบายน้ำขึ้นทำให้ดินจืดคลายความเปรี้ยวลงมาก จึงทำให้ราษฎรจากที่อื่นพากันอพยพมาจากที่อื่นเพื่อประกอบอาชีพทำนามากขึ้น

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอบางน้ำเปรี้ยวแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 148 หมู่บ้าน

1. บางน้ำเปรี้ยว (Bang Nam Priao) 16 หมู่บ้าน
2. บางขนาก (Bang Khanak) 12 หมู่บ้าน
3. สิงโตทอง (Singto Thong) 8 หมู่บ้าน
4. หมอนทอง (Mon Thong) 11 หมู่บ้าน
5. บึงน้ำรักษ์ (Bueng Nam Rak) 15 หมู่บ้าน
6. ดอนเกาะกา (Don Ko Ka) 14 หมู่บ้าน
7. โยธะกา (Yothaka) 13 หมู่บ้าน
8. ดอนฉิมพลี (Don Chimphli) 19 หมู่บ้าน
9. ศาลาแดง (Sala Daeng) 22 หมู่บ้าน
10. โพรงอากาศ (Phrong Akat) 18 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอบางน้ำเปรี้ยวประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่

Call Now Button