Category Archives: อำเภอแกลง
อำเภอแกลง
อำเภอแกลง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดระยอง เดิมมีฐานะเป็นหัวเมืองจัตวา ตั้งอยู่บริเวณแหลมยาง เคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2451
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]
อำเภอแกลงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอวังจันทร์และอำเภอเขาชะเมา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอแก่งหางแมวและอำเภอนายายอาม (จังหวัดจันทบุรี)
- ทิศใต้ จรดอ่าวไทย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองระยอง
ประวัติ
[แก้]
อำเภอแกลงหรือสามย่านในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 อำเภอแกลงมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นจัตวาชื่อ เมืองแกลง ตั้งอยู่บริเวณแหลมเมือง ปากน้ำกระแส (ประแส) อยู่ในความปกครองของมณฑลจันทบุรี เนื่องจากเป็นหัวเมืองสำคัญชายทะเลภาคตะวันออก มีกองทหารเรือตั้งประจำ ต่อมามีการย้ายกองทหารเรือไปตั้งที่อื่น ทางราชการจึงได้ย้ายตัวเมืองมาตั้งที่บ้านโพธิ์ทอง ตำบลทางเกวียน
อำเภอแกลง หรือชื่อเดิม “อำเภอเมืองแกลง” เคยเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดจันทบุรี ต่อมาเมื่อเห็นว่าเมื่อติดต่อราชการกับจังหวัดจันทบุรี เป็นท้องที่ที่ห่างไกลมากเกินไป และมีระยะทางที่ใกล้กับเมืองระยองมากกว่า จึงยกอำเภอเมืองแกลง มาขึ้นกับจังหวัดระยอง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2451 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน ปีเดียวกัน[1]
- วันที่ 22 สิงหาคม 2481 เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอแกลง (1,2,3)[2] โอนพื้นที่หมู่ 13,14,15 (ในขณะนั้น) ของตำบลทุ่งควายกิน ไปขึ้นกับตำบลปากน้ำกระแส โอนพื้นที่หมู่ 11 (ในขณะนั้น) ของตำบลคลองปูน ไปขึ้นกับตำบลปากน้ำกระแส และโอนพื้นที่หมู่ 13,14,15 (ในขณะนั้น) ของตำบลวังหว้า ไปขึ้นกับตำบลทางเกวียน
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลในพื้นที่อำเภอแกลง (1,2,3,4,5)[3] ตั้งตำบลวังหว้า แยกออกจากตำบลทางเกวียน ตั้งตำบลบ้านนา แยกออกจากตำบลกระแสบน ตั้งตำบลพังราด แยกออกจากตำบลกองดิน ตั้งตำบลชากพง แยกออกจากตำบลกร่ำ และตั้งตำบลทุ่งควายกิน แยกออกจากตำบลคลองปูน
- วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2498 โอนพื้นที่หมู่ 6 บ้านไร่ (ในขณะนั้น) ของตำบลชากโดน ไปขึ้นและรวมกับพื้นที่หมู่ที่ 2 ของตำบลกร่ำ[4]
- วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลทางเกวียน ในท้องที่บางส่วนของตำบลทางเกวียน[5]
- วันที่ 1 ธันวาคม 2507 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลทางเกวียน เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น[6]
- วันที่ 24 กรกฎาคม 2516 ตั้งตำบลวังจันทร์ แยกออกจากตำบลกระแสบน และตั้งตำบลชุมแสง แยกออกจากตำบลกระแสบน[7]
- วันที่ 22 พฤศจิกายน 2520 แยกพื้นที่ตำบลชุมแสง และตำบลวังจันทร์ อำเภอแกลง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอวังจันทร์ ขึ้นกับอำเภอแกลง[8]
- วันที่ 24 มิถุนายน 2524 ยกฐานะสุขาภิบาลทางเกวียน เป็นเทศบาลตำบลทางเกวียน[9]
- วันที่ 28 สิงหาคม 2522 ตั้งตำบลป่ายุบใน แยกออกจากตำบลชุมแสง[10]
- วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2523 จัดตั้งสุขาภิบาลปากน้ำประแส ในท้องที่บางส่วนของตำบลปากน้ำกระแส[11] และจัดตั้งสุขาภิบาลทุ่งควายกิน ในท้องที่บางส่วนของตำบลทุ่งควายกิน บางส่วนของตำบลคลองปูน[12]
- วันที่ 21 มิถุนายน 2526 ตั้งตำบลน้ำเป็น แยกออกจากตำบลทุ่งควายกิน[13]
- วันที่ 28 สิงหาคม 2527 ตั้งตำบลชำฆ้อ แยกออกจากตำบลบ้านนา[14]
- วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2528 จัดตั้งสุขาภิบาลสุนทรภู่ ในท้องที่บางส่วนของตำบลกร่ำ และตำบลชากพง[15]
- วันที่ 26 กันยายน 2529 ตั้งตำบลห้วยยาง แยกออกจากตำบลเนินฆ้อ[16]
- วันที่ 10 ตุลาคม 2529 ตั้งตำบลห้วยทับมอญ แยกออกจากตำบลน้ำเป็น[17]
- วันที่ 11 มิถุนายน 2530 จัดตั้งสุขาภิบาลชุมแสง ในท้องที่บางส่วนของตำบลชุมแสง และตำบลวังจันทร์[18]
- วันที่ 15 กันยายน 2532 ตั้งตำบลสองสลึง แยกออกจากตำบลชากโดน[19]
- วันที่ 19 มิถุนายน 2534 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอวังจันทร์ อำเภอแกลง เป็น อำเภอวังจันทร์[20]
- วันที่ 1 กรกฎาคม 2534 ตั้งตำบลพลงตาเอี่ยม แยกออกจากตำบลวังจันทร์[21] และรับพื้นที่เขตสุขาภิบาลชุมแสงมาแทนที่ตำบลวังจันทร์
- วันที่ 28 เมษายน 2535 ตั้งตำบลเขาน้อย แยกออกจากตำบลชำฆ้อ[22]
- วันที่ 9 เมษายน 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลกองดิน ในท้องที่บางส่วนของตำบลกองดิน[23]
- วันที่ 8 มิถุนายน 2536 แยกพื้นที่ตำบลน้ำเป็น ตำบลห้วยทับมอญ ตำบลชำฆ้อ และตำบลเขาน้อย อำเภอแกลง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเขาชะเมา ขึ้นกับอำเภอแกลง[24]
- วันที่ 22 เมษายน 2541 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลตำบลทางเกวียน จังหวัดระยอง เป็น เทศบาลตำบลเมืองแกลง[25]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลปากน้ำประแส สุขาภิบาลทุ่งควายกิน สุขาภิบาลสุนทรภู่ และสุขาภิบาลกองดิน เป็นเทศบาลตำบลปากน้ำประแส เทศบาลตำบลทุ่งควายกิน เทศบาลตำบลสุนทรภู่ และเทศบาลตำบลกองดิน ตามลำดับ
- วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลกร่ำ และองค์การบริหารส่วนตำบลชากพง รวมกับเทศบาลตำบลสุนทรภู่ จังหวัดระยอง[26]
- วันที่ 1 ตุลาคม 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำกระแส รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลคลองปูน จังหวัดระยอง[27]
- วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเขาชะเมา อำเภอแกลง เป็น อำเภอเขาชะเมา[28]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]
อำเภอแกลงแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 15 ตำบล 148 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ทางเกวียน | (Thang Kwian) | 11 หมู่บ้าน | 9. | ทุ่งควายกิน | (Thung Khwai Kin) | 13 หมู่บ้าน | ||||||||
2. | วังหว้า | (Wang Wa) | 14 หมู่บ้าน | 10. | กองดิน | (Kong Din) | 11 หมู่บ้าน | ||||||||
3. | ชากโดน | (Chak Don) | 8 หมู่บ้าน | 11. | คลองปูน | (Khlong Pun) | 9 หมู่บ้าน | ||||||||
4. | เนินฆ้อ | (Neun Kho) | 9 หมู่บ้าน | 12. | พังราด | (Phang Rat) | 8 หมู่บ้าน | ||||||||
5. | กร่ำ | (Kram) | 6 หมู่บ้าน | 13. | ปากน้ำกระแส | (Pak Nam Krasae) | 8 หมู่บ้าน | ||||||||
6. | ชากพง | (Chak Phong) | 7 หมู่บ้าน | 14. | ห้วยยาง | (Huai Yang) | 9 หมู่บ้าน | ||||||||
7. | กระแสบน | (Krasae Bon) | 14 หมู่บ้าน | 15. | สองสลึง | (Song Salueng) | 8 หมู่บ้าน | ||||||||
8. | บ้านนา | (Ban Na) | 13 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]
ท้องที่อำเภอแกลงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลเมืองแกลง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลทางเกวียนและตำบลวังหว้า
- เทศบาลตำบลทุ่งควายกิน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลทุ่งควายกินและตำบลคลองปูน
- เทศบาลตำบลปากน้ำประแส ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลปากน้ำกระแส
- เทศบาลตำบลสุนทรภู่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกร่ำและตำบลชากพงทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลกองดิน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลกองดิน
- เทศบาลตำบลเนินฆ้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเนินฆ้อทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบ้านนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านนาทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลสองสลึง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสองสลึงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทางเกวียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทางเกวียน (นอกเขตเทศบาลตำบลเมืองแกลง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังหว้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังหว้า (นอกเขตเทศบาลตำบลเมืองแกลง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลชากโดน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชากโดนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกระแสบน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระแสบนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งควายกิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งควายกิน (นอกเขตเทศบาลตำบลทุ่งควายกิน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลกองดิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกองดิน (นอกเขตเทศบาลตำบลกองดิน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองปูน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองปูน (นอกเขตเทศบาลตำบลทุ่งควายกิน) และตำบลปากน้ำกระแส (นอกเขตเทศบาลตำบลปากน้ำประแส)
- องค์การบริหารส่วนตำบลพังราด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพังราดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยยางทั้งตำบล
หน่วยกู้ภัย
[แก้]
- สมาคมพุทธศาสตร์สงเคราะห์ (กู้ภัยพุทธศาสตร์)
- มูลนิธิพุทธประชานุเคราะห์(หน่วยกู้ภัยพ่งไล้กุยอิงเกาะ)
สถานศึกษา
[แก้]
สถาบันอุดมศึกษา
[แก้]
สถาบันอาชีวศึกษา
[แก้]
โรงเรียนมัธยม
[แก้]
- โรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร”
- โรงเรียนมกุฎเมืองราชวิทยาลัย
- โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา
- โรงเรียนชำนาญสามัคคีวิทยา
- โรงเรียนห้วยยางศึกษา
- โรงเรียนวัดสุขไพรวัน
- โรงเรียนบ้านสองสลึง(ตั้งตรงจิตร ๙)
โรงเรียนเอกชน
[แก้]
- โรงเรียนรุ่งนภาพิทยา
- โรงเรียนอนุบาลหลานรัก
โรงเรียนเทศบาล
[แก้]
สถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อน
[แก้]
- วัดสมมติเทพฐาปนาราม
- วัดตะเคียนงาม
- วัดราชบัลลังก์ประดิษฐาราม
- วัดสารนารถธรรมาราม
- วัดวังหว้า (หลวงปู่คร่ำ)
- วัดบ้านนา (หลวงปู่บุญ)
- วัดเขาถ้ำระฆังทอง
- ค่ายกองดินปืน วัดกองดิน
- ศาลพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ปากน้ำประแส
- ศาลจ้าวพ่อกื้ออี่ไทรย้อย (เจ้าพ่อ 108 – ไหหลำ) ปากน้ำประแส
- อนุสาวรีย์สุนทรภู่
- อนุสรณ์เรือรบหลวงประแส
- ทุ่งโปร่งทอง ปากน้ำประแส
- สวนวังแก้ว
- แหลมแม่พิมพ์
- หาดแหลมสน ปากน้ำประแส
- หมู่เกาะมัน
- ชุมชนบ้านเก่าริมน้ำประแส
- บ้านพิพิธภัณฑ์ปากน้ำประแส
- พิพิธภัณฑ์วัดเขากระโดน
- พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาพืชและสัตว์ทะเลจังหวัดระยอง
- พิพิธภัณฑ์บ้านครูกัง
- บ้านจำรุงมหาวิทยาลัยบ้านนอก
- ชุมชนต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อม บ้านเอื้ออาทรระยอง วังหว้า
- แพล่องแม่น้ำประแส
- สะพานประแสสิน
- สะพานรักษ์แสม บ้านเนินทราย ต.เนินฆ้อ
- สนามกีฬากลางเมืองแกลง
- อ่างเก็บน้ำเขาจุก
- วัดท่ามะกอก