แซนวิชพียู สีเหลือง ท้องเหลือง แซนวิช พียูสีเหลือง ท้อง […]
Category Archives: จังหวัดนนทบุรี
จังหวัดนนทบุรี
จังหวัดนนทบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 [5]
ปัจจุบัน จังหวัดนนทบุรีจัดเป็นพื้นที่ในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร มีขนาดเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 75 ของประเทศ (รวมกรุงเทพมหานคร) แต่มีประชากรหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากกรุงเทพมหานคร
สมัยปัจจุบัน[แก้]
ในปี พ.ศ. 2474 ทางราชการได้ตัดถนนประชาราษฎร์[21] ขึ้นเป็นเส้นทางเชื่อมการคมนาคมระหว่างจังหวัดนนทบุรีกับจังหวัดพระนครสายแรก[22] และต่อมาจึงตัดถนนพิบูลสงครามเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นเป็นสายที่สอง[22] ในท้องที่ตำบลสวนใหญ่
เมื่อปี พ.ศ. 2486 เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางราชการจึงยุบจังหวัดนนทบุรีลงเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ โดยโอนอำเภอเมืองนนทบุรีและอำเภอปากเกร็ดไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร และโอนอำเภอบางกรวย อำเภอบางใหญ่ และอำเภอบางบัวทองไปขึ้นกับจังหวัดธนบุรี[22] จนกระทั่งนนทบุรีได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2489[23] อำเภอต่าง ๆ จึงกลับมาอยู่ในเขตการปกครองของทางจังหวัดตามเดิม
ปี พ.ศ. 2499 กระทรวงมหาดไทยได้ยกกิ่งอำเภอไทรน้อยซึ่งแยกพื้นที่ปกครองจากอำเภอบางบัวทองมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 ให้มีฐานะเป็นอำเภอไทรน้อย[24] จังหวัดนนทบุรีจึงมีเขตการปกครองรวม 6 อำเภอจนถึงปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2535 กระทรวงมหาดไทยย้ายศาลากลางจังหวัดนนทบุรีและหน่วยงานราชการอื่น ๆ ไปตั้งอยู่ที่ศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำบลบางกระสอ และใช้เป็นที่ทำการมาจนถึงทุกวันนี้
ทำเนียบผู้ว่าราชการ[แก้]
รายนามผู้ว่าราชการเมืองนนทบุรีและผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี[25]
ลำดับ | ชื่อผู้ว่าราชการ | ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง | ลำดับ | ชื่อผู้ว่าราชการ | ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|---|---|---|
1 |
มหาอำมาตย์ตรี นายพันตรีพระยาไกรโกษา (ทัด สิงหเสนี)
|
ไม่ทราบข้อมูล | 2 |
หม่อมเจ้าขจรศุภสวัสดิ์
|
ไม่ทราบข้อมูล |
3 |
พระยาอินทราธิบดี (ทองย้อย เศวตศิลา)
|
ไม่ทราบข้อมูล | 4 |
พระยานนทบุรีศรีเกษตราราม (เล็ก บูรณฤกษ์)
|
พ.ศ. 2465–2469 |
5 |
พระยาศิริชัยบุรินทร์ (เปี่ยม หงสเดช)
|
พ.ศ. 2469–2476 | 6 |
พระยาบริหารเทพธานี (เฉลิม กาญจนาคม)
|
พ.ศ. 2476–2478 |
7 |
หลวงภูวนารถนราภิบาล (สนิท มหามุสิต)
|
พ.ศ. 2478–2480 | 8 | พ.ศ. 2480–2482 | |
9 |
หลวงอรรถเกษมภาษา (สวิง ถาวรพันธ์)
|
พ.ศ. 2482–2483 | 10 |
หลวงโยธีพิทักษ์ (โปร่ง สาทิศกุล)
|
พ.ศ. 2483–2484 |
11 |
นายสุทิน วิวัฒนะ
|
พ.ศ. 2484–2485 | 12 |
หลวงนรกิจบริหาร (แดง กนิษฐสุต)
|
พ.ศ. 2485–2489 |
13 |
นายลิขิต สัตยายุทธ์
|
พ.ศ. 2489–2491 | 14 |
ขุนบุรีภิรมย์กิจ (พริ้ม จารุมาศ)
|
พ.ศ. 2491–2499 |
15 |
นายประกอบ ทรัพย์มณี
|
พ.ศ. 2499–2503 | 16 |
นายสอาด ปายะนันทน์
|
พ.ศ. 2503–2510 |
17 |
นายแสวง ศรีมาเสริม
|
พ.ศ. 2510–2514 | 18 |
นายวิจิตร แจ่มใส
|
พ.ศ. 2514–2519 |
19 |
นายสุชาติ พัววิไล
|
พ.ศ. 2519–2521 | 20 |
นายศรีพงศ์ สระวาลี
|
พ.ศ. 2521–2524 |
21 |
นายฉลอง วงษา
|
พ.ศ. 2524–2526 | 22 |
ดร.สุกิจ จุลละนันท์
|
พ.ศ. 2526–2530 |
23 | พ.ศ. 2530–2534 | 24 |
นายทวีป ทวีพาณิชย์
|
พ.ศ. 2534–2536 | |
25 |
นายชัยจิตร รัฐขจร
|
พ.ศ. 2536–2537 | 26 |
นายสุจริต ปัจฉิมนันท์
|
พ.ศ. 2537–2539 |
27 | พ.ศ. 2539–2542 | 28 |
นายขวัญชัย วศวงศ์
|
พ.ศ. 2542–2544 | |
29 |
นายสาโรช คัชมาตย์
|
พ.ศ. 2544–2545 | 30 |
นายชาญชัย สุนทรมัฎฐ์
|
พ.ศ. 2545–2547 |
31 | พ.ศ. 2547–2549 | 32 |
นายเชิดวิทย์ ฤทธิประศาสน์
|
พ.ศ. 2549–2552 | |
33 |
นายวิเชียร พุฒิวิญญู
|
พ.ศ. 2552–2556 | 34 |
นายธนน เวชกรกานนท์
|
พ.ศ. 2556–2557 |
35 |
นายชนม์ชื่น บุญญานุสาสน์
|
พ.ศ. 2557–2558 | 36 |
นายนิสิต จันทร์สมวงศ์
|
พ.ศ. 2558–2560 |
37 |
นายภานุ แย้มศรี
|
พ.ศ. 2560–2562 | 38 |
นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์
|
พ.ศ. 2562–ปัจจุบัน |
ภูมิศาสตร์[แก้]
ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ[แก้]
จังหวัดนนทบุรีตั้งอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือค่อนทางเหนือ 20 กิโลเมตร มีพื้นที่ปกครองทั้งหมด 622.303 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 388,939.375 ไร่ โดยมีพิกัดภูมิศาสตร์อยู่ละติจูดที่ 13 องศา 47 ลิปดาเหนือ ถึงละติจูดที่ 14 องศา 04 ลิปดาเหนือ และลองจิจูดที่ 100 องศา 15 ลิปดาตะวันออก ถึงลองจิจูดที่ 100 องศา 34 ลิปดาตะวันออก[26] และมีอาณาเขตจรดอำเภอและจังหวัดข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอลาดหลุมแก้ว และอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตดอนเมือง เขตหลักสี่ และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร (ฝั่งพระนคร)
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางพลัด เขตตลิ่งชัน และเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร (ฝั่งธนบุรี)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพุทธมณฑลและอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]
แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านเกาะเกร็ด
จังหวัดนนทบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีแม่น้ำไหลผ่าน จึงแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งตะวันตก มีพื้นที่ 3 ใน 4 ของจังหวัด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำท่วมถึง มีคูคลองขนาดต่าง ๆ เชื่อมโยงกันหลายสายเหมือนใยแมงมุม มีการทำเรือกสวนไร่นา และฝั่งตะวันออกมีพื้นที่ 1 ใน 3 ของจังหวัด ได้แก่พื้นที่ในเขตเทศบาลนครนนทบุรีและเทศบาลนครปากเกร็ด เป็นเขตเมืองมีประชากรอยู่อย่างหนาแน่น อาจถือได้ว่าส่วนนี้เป็นส่วนหนึ่งของเมืองหลวง เพราะเขตแดนระหว่างนนทบุรีกับกรุงเทพมหานครนั้นแทบจะไม่เป็นที่รู้จัก
ลักษณะภูมิอากาศ[แก้]
สภาพภูมิอากาศของจังหวัดนนทบุรีเป็นแบบร้อนชื้นเช่นเดียวกับจังหวัดอื่น ๆ ในภาคกลางของประเทศ
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]
- ตัวอักษรย่อ จังหวัดนนทบุรีใช้อักษรย่อ “นบ”
- คำขวัญประจำจังหวัด พระตำหนักสง่างาม ลือนามสวนสมเด็จ เกาะเกร็ดแหล่งดินเผา วัดเก่านามระบือ เลื่องลือทุเรียนนนท์ งามน่ายลศูนย์ราชการ
- ตราประจำจังหวัด รูปหม้อน้ำลายวิจิตร หมายถึง ชาวจังหวัดนนทบุรีมีอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งยึดถือเป็นอาชีพและมีชื่อเสียงมาช้านาน
- ต้นไม้ประจำจังหวัด ต้นนนทรี (Peltophorum pterocarpum)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด ดอกนนทรี
- สัตว์น้ำประจำจังหวัด ปลาเทพา (Pangasius sanitwongsei)
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
จังหวัดนนทบุรีแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาค (ตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่) ออกเป็น 6 อำเภอ 52 ตำบล 424 หมู่บ้าน แต่หากไม่นับรวมหน่วยการปกครองในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครซึ่งยุบเลิกตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านแล้ว จะมีทั้งหมด 34 ตำบล 328 หมู่บ้าน[27] โดยอำเภอทั้ง 6 อำเภอของจังหวัดนนทบุรี มีรายชื่อและข้อมูลทั่วไปดังนี้
ลำดับ [# 1] |
ชื่ออำเภอ | ชั้น [28] |
พื้นที่ (ตร.กม.) |
ห่างจากตัวจังหวัด (ก.ม.)[29] |
ตั้งเมื่อ (พ.ศ.) |
ตำบล [# 2][30] |
หมู่บ้าน [# 3][30] |
ประชากร (คน)[4] |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | พิเศษ |
77.018 [31]
|
– | ไม่ปรากฏข้อมูล | 10 | 26 |
365,710
|
![]() |
|
2 | 2 |
57.408 [32]
|
16.86
|
2447 [33] | 9 | 41 |
136,668
|
||
3 | 2 |
96.398 [34]
|
8.11
|
2464 [35] | 6 | 69 |
152,086
|
||
4 | 1 |
116.439 [36]
|
15.96
|
2445 [37] | 8 | 73 |
277,162
|
||
5 | 2 |
186.017 [38]
|
29.01
|
2499 [39] | 7 | 68 |
67,285
|
||
6 | 1 |
89.023 [40]
|
7.45
|
2427 [41] | 12 | 51 |
247,384
|
- ↑ เรียงตามรหัสเขตการปกครองของกรมการปกครอง
- ↑ รวมตำบลในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครด้วย
- ↑ เฉพาะหมู่บ้านนอกเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร (ทั้งเต็มหมู่และบางส่วน) เท่านั้น สำหรับจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด ให้ดูในบทความของแต่ละอำเภอ
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
พื้นที่จังหวัดนนทบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 46 แห่ง แบ่งตามประเภทและอำนาจบริหารจัดการภายในท้องที่ได้เป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาล 19 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 26 แห่ง[42]
เขตเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี
ลำดับ | ชื่อเทศบาล | พื้นที่ (ตร.กม.) |
ตั้งเมื่อ (พ.ศ.)[# 1] |
อำเภอ | ครอบคลุมตำบล | ประชากร สิ้นปี 2561 (คน)[4] |
||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ทั้งตำบล | บางส่วน | รวม | ||||||
เทศบาลนคร | ||||||||
1 | เทศบาลนครนนทบุรี | 38.90 [43] | 2538 [44] | เมืองนนทบุรี | 5 | – | 5 | 254,950 |
2 | เทศบาลนครปากเกร็ด | 36.04 [45] | 2543 [46] | ปากเกร็ด | 5 | – | 5 | 189,935 |
เทศบาลเมือง | ||||||||
1 | เทศบาลเมืองบางบัวทอง | 13.50 [47] | 2480 [48] | บางบัวทอง | 1 | 4 | 5 | 51,136 |
2 | เทศบาลเมืองบางกรวย | 8.40 [49] | 2545 [50] | บางกรวย | 2 | – | 2 | 43,453 |
3 | เทศบาลเมืองบางศรีเมือง | 6.36 [51] | 2549 [52] | เมืองนนทบุรี | 1 | 1 | 2 | 32,651 |
4 | เทศบาลเมืองพิมลราช | 15.08 [53] | 2557 [54] | บางบัวทอง | – | 1 | 1 | 45,674 |
5 | เทศบาลเมืองบางคูรัด | 19.70 [55] | 2562 [56] | บางบัวทอง | 1 | – | 1 | 39,590 |
6 | เทศบาลเมืองบางรักพัฒนา | 11.48 [57] | 2562 [58] | บางบัวทอง | – | 1 | 1 | 46,645 |
เทศบาลตำบล | ||||||||
1 | เทศบาลตำบลปลายบาง | 15.68 [49] | 2542 [59] | บางกรวย | 2 | 1 | 3 | 44,401 |
2 | เทศบาลตำบลบางม่วง | 1.67 [60] | 2542 [59] | บางใหญ่ | – | 3 | 3 | 5,812 |
3 | เทศบาลตำบลบางใหญ่ | 7.23 [61] | 2542 [59] | บางใหญ่ | – | 3 | 3 | 11,331 |
4 | เทศบาลตำบลไทรน้อย | 2.30 | 2542 [59] | ไทรน้อย | – | 2 | 2 | 2,557 |
5 | เทศบาลตำบลไทรม้า | 8.14 [49] | 2546 [62] | เมืองนนทบุรี | 1 | – | 1 | 22,690 |
6 | เทศบาลตำบลศาลากลาง | 14.78 [63] | 2551 [64] | บางกรวย | 1 | – | 1 | 17,095 |
7 | เทศบาลตำบลเสาธงหิน | 9.55 [65] | 2554 [66] | บางใหญ่ | – | 1 | 1 | 38,475 |
8 | เทศบาลตำบลบางเลน | 7.60 [67] | 2554 [68] | บางใหญ่ | – | 1 | 1 | 15,513 |
9 | เทศบาลตำบลบ้านบางม่วง | 11.21 [65] | 2554 [69] | บางใหญ่ | – | 1 | 1 | 16,962 |
10 | เทศบาลตำบลบางสีทอง | 5.80 [70] | 2556 [71] | บางกรวย | 1 | – | 1 | 10,952 |
11 | เทศบาลตำบลบางพลับ | 8.31 [72] | 2556 [73] | ปากเกร็ด | 1 | – | 1 | 10,026 |
- ↑ หมายถึงปีที่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลในระดับปัจจุบัน
ประชากร[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎรจังหวัดนนทบุรี | ||
---|---|---|
ปี | ประชากร | ±% |
2554 | 1,122,627 | — |
2555 | 1,141,673 | +1.7% |
2556 | 1,156,271 | +1.3% |
2557 | 1,173,870 | +1.5% |
2558 | 1,193,711 | +1.7% |
2559 | 1,211,924 | +1.5% |
2560 | 1,229,735 | +1.5% |
2561 | 1,246,295 | +1.3% |
อ้างอิง:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[4] |
ตามข้อมูลจำนวนประชากรของสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 จังหวัดนนทบุรีมีประชากร 1,246,295 คน คิดเป็นอันดับที่ 15 ของประเทศ โดยแบ่งเป็นประชากรเพศชาย 581,620 คน และประชากรเพศหญิง 664,675 คน[4] นอกจากนี้ยังมีความหนาแน่นประชากรโดยเฉลี่ยถึง 2,002.71 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศรองจากกรุงเทพมหานคร อำเภอที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดคืออำเภอเมืองนนทบุรี มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นถึง 4,748.37 คนต่อตารางกิโลเมตร รองลงไปได้แก่อำเภอปากเกร็ด อำเภอบางกรวย อำเภอบางบัวทอง และอำเภอบางใหญ่ ส่วนอำเภอที่ประชากรเบาบางที่สุดคืออำเภอไทรน้อยซึ่งมีความหนาแน่นประชากรเฉลี่ย 361.71 คนต่อตารางกิโลเมตร
ประชากรในจังหวัดนนทบุรีประกอบด้วยหลายเชื้อชาติทั้งไทย (มีจำนวนมากที่สุด มีอยู่ทั่วไปในจังหวัด) จีน มอญ (อพยพมาในสมัยกรุงธนบุรีและสมัยรัชกาลที่ 2) และมลายู (อพยพมาจากเมืองปัตตานีและไทรบุรี)[74] โดยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา รองลงไปเป็นศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาอื่น ๆ จากการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน พ.ศ. 2561 ด้านศาสนา พบว่าประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 93.64 รองลงมานับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 6.02 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 0.30 นอกนั้นนับถือศาสนาซิกข์ ฮินดู และอื่น ๆ รวมกันร้อยละ 0.04[75]
ศาสนา | 2543[74] | 2557[76] | 2559[77] | 2561[75] |
---|---|---|---|---|
พุทธ | 89.75% | 94.5% | 94.61% | 93.64% |
อิสลาม | 6.91% | 4% | 5.11% | 6.02% |
คริสต์ | 1.19% | 1% | 0.25% | 0.30% |
ซิกข์ | – | – | 0.01% | – |
อื่น ๆ | 2.15% | 0.5% | 0.01% | 0.04% |
เนื่องจากในปัจจุบัน นนทบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีทำเลที่ตั้งอยู่ในเขตปริมณฑลของเมืองหลวง มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูง และมีความพร้อมด้านระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ส่งผลให้ชาวไทยจำนวนมากจากทุกภูมิภาคของประเทศพิจารณาย้ายถิ่นเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่เพื่อความสะดวกในการเดินทางเข้าไปทำงานหรือศึกษาในกรุงเทพมหานคร ดังนั้น ความพลุกพล่านและความหนาแน่นของประชากรในจังหวัดนนทบุรีจึงไม่แตกต่างกับกรุงเทพมหานครมากนัก โดยเฉพาะทางด้านตะวันออกของอำเภอบางกรวย อำเภอเมืองนนทบุรี และอำเภอปากเกร็ดซึ่งอยู่ติดกับเขตเมืองชั้นในและเขตเมืองชั้นกลางของกรุงเทพมหานคร
แซนวิชพียู แดงสด ท้องขาว แซนวิชพียู แดงสด ท้องขาว สามาร […]
แซนวิชพียู สีเขียว ท้องเขียวบางจาก แซนวิชพียู สีเขียว ท […]
หลังคา พียู โฟม สีเขียวคราม หลังคา พียู โฟม สีเขียวคราม […]
หลังคา พียู โฟม สีน้ำตาล หลังคา พียู โฟม สีน้ำตาล คือหล […]
หลังคา พียู โฟม สีแดงอิฐ หลังคา พียู โฟม สีแดงอิฐ คือหล […]
หลังคาพียู ท้องขาว อะลูซิ้งค์ หลังคาพียู ท้องขาว อะลูซิ […]
หลังคาโปร่งแสง ขาวขุ่น 6.40 เมตร หลังคาโปร่งแสง ขาวขุ่น […]
หลังคาโปร่งแสง ขาวขุ่น 2.20 เมตร หลังคาโปร่งแสง ขาวขุ่น […]
แผ่นลอนผนัง ลอนฝ้า หนา 0.30 สีอะลูซิ้งค์ แผ่นลอนผนัง ลอ […]