Category Archives: พุทธมณฑล

พุทธมณฑล

พุทธมณฑล เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา อยู่ในตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีเนื้อที่ 2,500 ไร่ สร้างขึ้นเพื่อเป็นการฉลองวาระกึ่งพุทธกาล

อำเภอพุทธมณฑล เป็นอำเภอในจังหวัดนครปฐม เป็นอำเภอที่มีพื้นที่น้อยที่สุดในจังหวัด แต่ได้รับความเจริญมาจากกรุงเทพมหานคร ทำให้มีหมู่บ้านจัดสรรอยู่หลายโครงการ มีมหาวิทยาลัยมากมายและยังเป็นที่ตั้งของ พุทธมณฑล ศูนย์รวมการทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญในประเทศไทยอีกด้วย

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอพุทธมณฑลมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

[แก้]

ท้องที่อำเภอพุทธมณฑล เดิมเป็นส่วนหนึ่งของตำบลงิ้วราย (เปลี่ยนชื่อเป็นตำบลลานตากฟ้าในปัจจุบัน)[1] ตำบลห้วยพลู และตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี และบางส่วนของตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2533 กระทรวงมหาดไทยให้แยกพื้นที่บางส่วนออกจากการปกครองของอำเภอนครชัยศรี รวมตั้งเป็น กิ่งอำเภอพุทธมณฑล[2] ให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอนครชัยศรี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2534 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 จึงมีพระราชกฤษฎีกาฯ ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอพุทธมณฑล โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539

  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลมหาสวัสดิ์ แยกออกจากตำบลงิ้วราย ตั้งตำบลคลองโยง แยกออกจากตำบลศาลายา และตำบลห้วยพลู[3]
  • วันที่ 31 ธันวาคม 2526 โอนพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 6 ในขณะนั้น เฉพาะเขตพื้นที่ที่ตั้งของพุทธมณฑล จากตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน มาขึ้นกับตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี[4] เพื่อให้พื้นที่พุทธมณฑลอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเดียวและเพื่อประโยชน์ในการปกครองดูแลพุทธมณฑล
  • วันที่ 31 มกราคม 2534 แยกพื้นที่ตำบลศาลายา ตำบลคลองโยง และตำบลมหาสวัสดิ์ ของอำเภอนครชัยศรี ไปจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอพุทธมณฑล[2] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอนครชัยศรี
  • วันที่ 22 เมษายน 2535 จัดตั้งสุขาภิบาลศาลายา ในท้องที่หมู่ 3–6 ของตำบลศาลายา[5]
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 ยกฐานะกิ่งอำเภอพุทธมณฑล อำเภอนครชัยศรี เป็น อำเภอพุทธมณฑล[6]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลศาลายา เป็นเทศบาลตำบลศาลายา[7] ด้วยผลของกฎหมาย

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอพุทธมณฑลแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 3 ตำบล 18 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[8]
1. ศาลายา Sala Ya
6
23,758
2. คลองโยง Khlong Yong
8
10,784
3. มหาสวัสดิ์ Maha Sawat
4
10,075

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอพุทธมณฑลประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองคลองโยง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองโยงทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลศาลายา ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 6 และบางส่วนของหมู่ที่ 3–5 ตำบลศาลายา
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศาลายา ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1–2 และบางส่วนของหมู่ที่ 3–5 ตำบลศาลายา
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมหาสวัสดิ์ทั้งตำบล

การคมนาคม

[แก้]

ถนน

[แก้]

ถนนพุทธมณฑลสาย 4 หน้าพุทธมณฑล

ถนนสายสำคัญในอำเภอพุทธมณฑล ได้แก่

ขนส่งทางบก

[แก้]

ในอำเภอพุทธมณฑล มีเส้นทางรถประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำนวนหลายเส้นทาง ดังนี้

  • รถเมล์ ไทยสมายล์บัส สาย 124 ศาลายา-สนามหลวง
  • รถเมล์ ไทยสมายล์บัส 163 ศาลายา-BTS สนามกีฬาแห่งชาติ
  • รถเมล์ ไทยสมายบัส สาย 515 เซ็นทรัลศาลายา-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • รถเมล์ ขสมก. สาย 515 (4-71E) เซ็นทรัลศาลายา – ทางด่วน – อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • รถเมล์ เอกชน สาย 539 อ้อมน้อย-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • รถเมล์ สมาร์ทบัส สาย 547 หมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา-ถนนตก
  • รถเมล์ ขสมก. สาย 556 แยกนครชัยศรี – อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
  • รถเมล์ ขสมก.สาย ปอ.556 วัดไร่ขิง – อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
  • รถเมล์ ไทยสมายล์บัส สาย 4-67 ศาลายา-กระทรวงพาณิชย์
  • รถเมล์ ขสมก.สาย 4-70E เซ็นทรัล ศาลายา-BTS หมอชิต

ขนส่งทางราง

[แก้]

ในอำเภอพุทธมณฑล มีเส้นทางรถไฟสายใต้ผ่านจำนวน 1 สถานี คือ

สถานที่สำคัญ

[แก้]

พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ในพุทธมณฑล

สถานศึกษา

[แก้]

ภูมิทัศน์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ขวามือเป็นมหิดลสิทธาคาร

พุทธมณฑล แผ่นโปร่งแสง 

พุทธมณฑล หลังคาเมทัลชีท

พุทธมณฑล หลังคาเมทัลชีท : แผ่นเดียว ก็ขาย พุทธมณฑล หลัง […]

พุทธมณฑล ลูกหมุน ระบายอากาศ

พุทธมณฑล ลูกหมุน ระบายอากาศ พร้อมแผ่นฐาน พุทธมณฑล ลูกหม […]

Call Now Button