Category Archives: จังหวัดชลบุรี

จังหวัดชลบุรี

จังหวัดชลบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย[2] ชุมชนเมืองศูนย์กลางของจังหวัด คือ เทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรีมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่งตั้งอยู่ โดยมีเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ คือ เมืองพัทยา นอกจากด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแล้วยังเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสำคัญของภาคตะวันออกอย่างมาก ทั้งในด้านพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมต่าง ๆ

หน่วยการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

จังหวัดชลบุรีแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 11 อำเภอ 92 ตำบล 687 หมู่บ้าน โดยอำเภอทั้ง 11 อำเภอมีดังนี้

ข้อมูลอำเภอในจังหวัดชลบุรี (31 ธันวาคม พ.ศ. 2566)
ลำดับ
[# 1]
ชื่ออำเภอ อักษรโรมัน ชั้น
[4]
พื้นที่
(ตร.กม.)
ห่างจากศาลากลาง
(กม.)[5]
ตั้งเมื่อ
(พ.ศ.)
ตำบล
[# 2][6]
หมู่บ้าน
[# 3][6]
ประชากร
(คน)
แผนที่
1 Mueang Chon Buri พิเศษ
228.8
2481 18 107
 347,728
แผนที่
2 Ban Bueng
646.3
17 2481 8 52
 111,423
3 Nong Yai
397.5
53 2524 5 24
 23,936
4 Bang Lamung
727
48 2444 8 72
 339,754
5 Phan Thong
173
24 2481 11 76
 80,613
6 Phanat Nikhom
450.9
26 2495 20 185
 125,851
7 Si Racha
643.558
24 2437[# 4] 8 73
 329,770
8 Ko Sichang
17.3
37 2437 1 7
 4,555
9 Sattahip
348.122
86 2496 5 40
 165,003
10 Bo Thong
781.6
59 2528 6 47
 49,835
11 Ko Chan
248.8
54 2550 2 27
 39,598
  1.  เรียงตามรหัสเขตการปกครองของกรมการปกครอง
  2.  รวมตำบลในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครด้วย
  3.  รวมหมู่บ้านในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครด้วย
  4.  ในนาม “อำเภอบางพระ”

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

จังหวัดชลบุรีมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 99 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี มีเทศบาล 47 แห่ง เป็นเทศบาลนคร 3 แห่ง เทศบาลเมือง 10 แห่ง และเทศบาลตำบล 35 แห่ง ที่เหลือเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 49 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 1 แห่ง คือ เมืองพัทยา[7] โดยเทศบาลทั้งหมดแบ่งตามอำเภอในจังหวัดชลบุรี (รวมเมืองพัทยา) มีดังนี้

แผนที่เทศบาลในจังหวัดชลบุรี

 

เศรษฐกิจ

[แก้]

จังหวัดชลบุรีมีผลิตภัณฑ์จังหวัด ณ ราคาตลาดปัจจุบัน (GPP; Gross Provincial Product at Current Market Prices) 1,173,449 ล้านบาท ใน พ.ศ. 2565 เป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ รองจากกรุงเทพมหานคร[9] โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดชลบุรี ขึ้นอยู่กับภาคนอกเกษตรเป็นหลัก คิดเป็นร้อยละ 98 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด หรือประมาณ 1,151,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ

ภาคอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 จังหวัดชลบุรีมีโรงงานอุตสาหกรรม 3,676 แห่ง[10] แบ่งตามประเภทได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต อาหาร รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ พลาสติก เครื่องจักรกล ชิ้นส่วนรถยนต์ เหล็กและโลหะ อุตสาหกรรมเคมีและเคมีภัณฑ์ โรงกลั่นน้ำมัน อุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตการเกษตร และอุตสาหกรรมเหมืองแร่ โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม เช่น นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ และนิคมอุตสาหกรรมเอเชียคลีน

ภาคบริการ ได้แก่ การก่อสร้าง การเงินและธุรกิจประกัน การศึกษา การแพทย์ การขายส่งและการขายปลีกฯ การไฟฟ้า แก๊ส การขนส่ง ที่พักแรม และบริการด้านอาหาร การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า จังหวัดชลบุรีมีท่าเรือพาณิชย์ที่สำคัญ ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือสัตหีบ[11] ท่าเรือศรีราชาฮาร์เบอร์[12] ท่าเรือสยามคอมเมอร์เชียลซีพอร์ต ท่าเรือเคอรี่สยามซีพอร์ต

ส่วนภาคเกษตรมีมูลค่าคิดเป็นร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด มูลค่าประมาณ 22,000 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์การเกษตรได้แก่ มันสำปะหลัง สับปะรด ยางพารา สาขาประมงพาณิชย์ สาขาป่าไม้ สาขาปศุสัตว์ ได้แก่ ไก่เนื้อ และสุกร

Call Now Button