Category Archives: จังหวัดฉะเชิงเทรา

จังหวัดฉะเชิงเทรา

จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับกรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี จังหวัดชลบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ รวมถึงมีอาณาเขตติดกับอ่าวไทยเป็นระยะสั้นประมาณ 12 กิโลเมตร

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

ที่มาของคำว่า “ฉะเชิงเทรา” มีข้อสันนิษฐานที่แตกต่างกัน 2 ข้อ คือ[3]

  • คำว่า ฉะเชิงเทรา มาจากคำภาษาเขมร 2 คำ คือ สทึง+เจรา ซึ่ง สทึง (ស្ទឹង) แปลว่า แม่น้ำสายย่อย และ เจรา (ជ្រៅ) แปลว่า ลึก เมื่อรวมความหมายก็ได้ว่า แม่น้ำลึก ซึ่งหมายถึงแม่น้ำบางปะกงนั่นเอง (มีผู้โต้แย้งข้อสันนิษฐานนี้ เนื่องจากว่าเมืองฉะเชิงเทรานั้นตั้งขึ้นมาในสมัยเดียวกับเมืองสาครบุรี เมืองนครไชยศรี และเมืองนนทบุรี ซึ่งไม่น่าจะมีคำเขมรมาปนอยู่ในชื่อเมืองแล้ว)
  • คำว่า ฉะเชิงเทรา อาจเพี้ยนมาจากคำว่า แสงเชรา แสงเซา หรือ แซงเซา (ข้อสันนิษฐานนี้ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน)

ประวัติ

[แก้]

ช่วงก่อนและต้นยุคทวารวดี มีชุมชนบ้านเมืองโบราณบริเวณสองฝั่งคลองลำน้ำท่าลาด หรือคลองท่าลาด ที่ไหลผ่านอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา หลายแห่งตั้งแต่บ้านเกาะขนุน ถึงบ้านท่าเกวียน ฯลฯ ช่วงปลายยุคทวารวดี ฉะเชิงเทราและดินแดนใกล้เคียงคือ เมืองมโหสถ (อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี) กับเมืองพระรถ (อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี) ต่างรุ่งเรืองขึ้นจากการค้าโลก และมีความเกี่ยวข้องเป็นเครือญาติกับกษัตริย์ขอมทั้งเมืองละโว้ (ลพบุรี) และเมืองพระนคร (กัมพูชา) จนหลังยุคขอมจนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น บริเวณลุ่มน้ำบางปะกง ตั้งแต่เขตฉะเชิงเทราถึงปราจีนบุรีกลายเป็นป่าดง เนื่องจากเป็นที่ดอนมากขึ้นจากทับถมของตะกอนปากแม่น้ำ ส่งผลให้เส้นทางคมนาคมออกอ่าวไทยไม่ค่อยสะดวกเช่นเดิม จนสมัยอยุธยาตอนกลาง สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โปรดให้ซ่อมแปลงคลองสำโรง ซึ่งเชื่อมแม่น้ำบางปะกง กับแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อให้สะดวกในการคมนาคม

ในสมัยรัชกาลที่ 3 หลังปี พ.ศ. 2369 ทรงยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ ได้มีการกวาดต้อนครัวลาวพวกหนึ่งมาอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำบางปะกง เกิดเมืองใหม่ชื่อ เมืองฉะเชิงเทรา แต่ปากชาวบ้านเรียกชื่อเดิมที่มีมาก่อนว่า เมืองแปดริ้ว (ปัจจุบันคือ อำเภอบางคล้า) มีการสร้างป้อมเมืองฉะเชิงเทราเพื่อป้องกันศึกญวนและเขมรที่มาทางแม่น้ำบางปะกง และอ่าวไทย ราวปี พ.ศ. 2377 ต่อมา พ.ศ. 2381 ให้อพยพครอบครัวเจ้าองค์ด้วง แห่งกัมพูชา เข้ากรุงเทพฯ ส่วนบ่าวไพร่ทั้งหลายให้อยู่เมืองฉะเชิงเทรา (บริเวณ ชุมชนวัดดอนทอง ปากคลองบางตีนเป็ด ตรงข้ามอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา)

ในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้ยกบ้านท่าถ่านเป็นเมืองพนมสารคาม (อำเภอพนมสารคาม) และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ปี พ.ศ. 2459 โปรดให้เมืองฉะเชิงเทรากับเมืองพนมสารคาม รวมกันสถาปนาเป็น จังหวัดฉะเชิงเทรา[4]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ภูมิประเทศของจังหวัดฉะเชิงเทราแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนตะวันตกของจังหวัดตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง ส่วนตะวันออกมีลักษณะเป็นเนินเขา ด้วยความสูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยกว่า 100 เมตร จังหวัดฉะเชิงเทรามีเกาะจำนวน 1 เกาะ คือ เกาะกลาง ที่บริเวณปากแม่น้ำบางปะกง

สัญลักษณ์ของจังหวัด

[แก้]

  • ตราประจำจังหวัด เป็นรูปพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหารหลังใหม่ หมายถึง ที่ประดิษฐานพระพุทธโสธร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญของเมือง ตำนานเล่าว่าเป็นพระพุทธรูปแสดงปาฏิหาริย์ ลอยทวนน้ำมา ขึ้นที่จังหวัด ชาวเมืองเคารพ ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บันดาลให้ดิน และน้ำอุดมสมบูรณ์ มีรูปครุฑ และชื่อจังหวัดฉะเชิงเทราอยู่ด้านล่างโบสถ์

สีหลังคาพระอุโบสถ : เป็นสีด่อน (สีเทาควันบุหรี่) ซึ่งเป็นจริงของหลังคาพระอุโบสถหลังใหม่

พื้นหน้าพระอุโบสถ : เป็นสีเทาอ่อน มิใช่สีดำ

ขอบสีรอบเครื่องหมายราชการ : เป็นสีแดงเลือดหมู ซึ่งเป็นสีประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา

  • ต้นไม้ประจำจังหวัด นนทรีป่า
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด นนทรี
  • สัตว์น้ำประจำจังหวัด ปลากะพงขาวหรือปลาโจ้โล้
  • ลักษณะรูปร่างของจังหวัดฉะเชิงเทรา ลักษณะรูปร่างของจังหวัดฉะเชิงเทรามีรูปร่างคล้ายกับ “ค้อนตอกตะปู”
  • คำขวัญประจำจังหวัด “แม่น้ำบางปะกงแหล่งชีวิต พระศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อโสธร พระยาศรีสุนทรปราชญ์ภาษาไทย เขาอ่างฤๅไนป่าสมบูรณ์”

หน่วยการปกครอง

[แก้]

การปกครองแบ่งออกเป็น 11 อำเภอ 93 ตำบล 859 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

จังหวัดฉะเชิงเทรามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 109 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา มีเทศบาล 34 แห่ง เป็นเทศบาลเมือง 1 แห่ง และเทศบาลตำบล 33 แห่ง ที่เหลือเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 73 แห่ง โดยเทศบาลทั้งหมดแบ่งตามอำเภอในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีดังนี้

ข้อมูลเทศบาลในจังหวัดฉะเชิงเทรา
ลำดับ ชื่อเทศบาล อำเภอ ครอบคลุมตำบล ประชากร (คน)
(ณ สิ้นปี 2567) [5]
ทั้งตำบล บางส่วน รวม
เทศบาลเมือง
1 เมืองฉะเชิงเทรา 1 1
36,318
เทศบาลตำบล
1 เมืองฉะเชิงเทรา 1 1
1,347
2 บางคล้า 1 1
9,913
3 บางคล้า 1 1
5,364
4 บางน้ำเปรี้ยว 1 1
1,520
5 บางน้ำเปรี้ยว 1 1
2,094
6 บางน้ำเปรี้ยว 2 2
2,258
7 บางน้ำเปรี้ยว 1 1
1,474
8 บางน้ำเปรี้ยว 1 1
8,620
9 บางน้ำเปรี้ยว 1 1
3,393
10 บางปะกง 1 1
3,780
11 บางปะกง 1 1
11,521
12 บางปะกง 1 1
7,370
13 บางปะกง 1 1
3,856
14 บางปะกง 1 1
5,893
15 บางปะกง 3 3
2,545
16 บางปะกง 1 1
1,261
17 บางปะกง 1 1
2,112
18 1 1 1
9,568
19 บางปะกง 1 1
17,328
20 บ้านโพธิ์ 2 2
4,105
21 บ้านโพธิ์ 1 1
2,881
22 บ้านโพธิ์ 1 1
4,148
23 บ้านโพธิ์ 1 1
5,385
24 พนมสารคาม 1 1
2,068
25 พนมสารคาม 1 1
16,375
26 พนมสารคาม 1 1
6,101
27 พนมสารคาม 1 1
10,195
28 พนมสารคาม 1 1
8,042
29 สนามชัยเขต 1 1
4,231
30 แปลงยาว 2 2
5,782
31 แปลงยาว 2 2
6,260
32 แปลงยาว 1 1
6,915
33 แปลงยาว 1 1
9,886 

ประชากร

[แก้]

สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา
ปี ประชากร ±%
2553 673,933
2554 679,370 +0.8%
2555 685,721 +0.9%
2556 690,226 +0.7%
2557 695,478 +0.8%
2558 700,902 +0.8%
2559 704,399 +0.5%
2560 709,889 +0.8%
2561 715,009 +0.7%
2562 720,113 +0.7%
2563 720,698 +0.1%
2564 724,178 +0.5%
2565 726,687 +0.3%
2566 730,543 +0.5%
อ้างอิง:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

การศึกษา

[แก้]

มหาวิทยาลัย

[แก้]

วิทยาลัย

[แก้]

ตำบลดอนเกาะกา หลังคา แซนวิช พียูโฟม

ตำบลดอนฉิมพลี  หลังคา พียู  โฟม

ตำบลเสม็ดเหนือ แผ่นโปร่งแสง

ตำบลหัวไทร แผ่นใส สีใสกระจก

ตำบลสาวชะโงก แผ่นใส สีขาวขุ่น

ตำบลปากน้ำ แพนเนล พียู

ตำบลบางสวน หลังคา พียู ลายไม้

ตำบลบางกระเจ็ด หลังคา แซนวิช พียูโฟม

ตำบลท่าทองหลาง  หลังคา พียู  โฟม

อบต. ท่าตะเกียบ แผ่นโปร่งแสง

Call Now Button