สะพานกรุงเทพ หลังคาเมทัลชีท : แผ่นเดียว ก็ขาย สะพานกรุง […]
Category Archives: เขตธนบุรี
เขตธนบุรี
เขตธนบุรี เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี ตั้งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]
เขตธนบุรีตั้งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีอาณาเขตติดต่อกับเขตอื่นเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางกอกใหญ่และเขตพระนคร มีคลองบางกอกใหญ่และแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตคลองสาน มีสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ ถนนประชาธิปก ถนนลาดหญ้า (บริเวณรอบวงเวียนอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และคลองบางไส้ไก่ เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางคอแหลมและเขตราษฎร์บูรณะ มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองดาวคะนองเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตจอมทองและเขตภาษีเจริญ มีคลองบางสะแก คลองแยกบางสะแก 13 คลองวัดใหม่ยายนุ้ย 1 (คลองศาลเจ้าต้นโพธิ์) และคลองด่านเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์
[แก้]
เขตธนบุรีเดิมมีฐานะเป็นอำเภอชั้นในขึ้นกับกรมนครบาล ตั้งที่ว่าการอำเภอในพื้นที่ของวัดราชคฤห์ จึงเรียกอำเภอนี้ว่า อำเภอราชคฤห์ (ปัจจุบันสำนักงานเขตย้ายมาตั้งอยู่บริเวณวัดเวฬุราชิณ) ต่อมาเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 ได้มีพระบรมราชโองการเปลี่ยนชื่ออำเภอราชคฤห์เป็น อำเภอบางยี่เรือ จังหวัดธนบุรี เนื่องจากมีที่ตั้งอำเภออยู่ในเขตตำบลบางยี่เรือ
ในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514 สมัยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการยุบจังหวัดธนบุรีรวมกับจังหวัดพระนครให้มีฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี ดังนั้น เพื่อรักษาคำว่า “ธนบุรี” ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงและเพื่อเฉลิมพระเกียรติของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ประกอบกับอำเภอบางยี่เรือนี้เคยเป็นศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดธนบุรีด้วย จึงได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอบางยี่เรือเป็น อำเภอธนบุรี ขึ้นกับนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตธนบุรี ขึ้นกับกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา
ครั้นในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ได้มีประกาศกรุงเทพมหานครเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงและตั้งแขวงใหม่ในเขตธนบุรี เนื่องจากผู้บริหารกรุงเทพมหานครมีนโยบายให้แบ่งแขวงขนาดใหญ่ให้ย่อยลง เพื่อความชัดเจนในการให้บริการของสำนักงานเขต โดยได้เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบุคคโล แขวงบางยี่เรือ และแขวงตลาดพลู นำมาจัดตั้งเป็นแขวงสำเหร่และแขวงดาวคะนอง
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]

วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขณะนั้น ได้ลงนามในประกาศจัดตั้งแขวงสำเหร่และแขวงดาวคะนอง แยกจากพื้นที่แขวงบุคคโล แขวงบางยี่เรือ และแขวงตลาดพลู เขตธนบุรี โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม ปีเดียวกัน[2] ทำให้ปัจจุบัน เขตธนบุรีแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1.
|
วัดกัลยาณ์ | Wat Kanlaya |
0.785
|
7,739
|
9,858.60
|
![]() |
2.
|
หิรัญรูจี | Hiran Ruchi |
0.691
|
10,788
|
15,612.16
|
|
3.
|
บางยี่เรือ | Bang Yiruea |
1.523
|
18,470
|
12,127.38
|
|
4.
|
บุคคโล | Bukkhalo |
1.210
|
16,075
|
13,285.12
|
|
5.
|
ตลาดพลู | Talat Phlu |
1.823
|
15,221
|
8,349.42
|
|
6.
|
ดาวคะนอง | Dao Khanong |
1.289
|
16,581
|
12,863.46
|
|
7.
|
สำเหร่ | Samre |
1.230
|
13,412
|
10,904.07
|
|
ทั้งหมด |
8.551
|
98,286
|
11,494.09
|
ประชากร
[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตธนบุรี[3] |
---|
การคมนาคม
[แก้]


ทางรถยนต์
[แก้]
ถนนสายหลักในพื้นที่เขตธนบุรี ได้แก่
- ถนนอิสรภาพ เชื่อมถนนประชาธิปก (ทางแยกบ้านแขก) กับสะพานเจริญพาศน์
- ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน เชื่อมระหว่างวงเวียนใหญ่กับสะพานข้ามคลองดาวคะนอง
- ถนนอรุณอมรินทร์ เชื่อมระหว่างถนนประชาธิปกกับสะพานอนุทินสวัสดิ์
- ถนนมไหสวรรย์ เชื่อมถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน (ทางแยกมไหสวรรย์) กับสะพานกรุงเทพ
- ถนนรัชดาภิเษก เชื่อมถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน (ทางแยกมไหสวรรย์) กับสะพานตลาดพลู
- ถนนเจริญนคร เชื่อมระหว่างสะพานเจริญนคร 5 ถึงสะพานเจริญนคร 8
- ถนนประชาธิปก เชื่อมระหว่างวงเวียนใหญ่กับเชิงสะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
- ถนนวุฒากาศ เชื่อมถนนเทอดไท (ทางแยกวุฒากาศ) กับสะพานข้ามคลองวัดใหม่ยายนุ้ย
- ถนนเทอดไท เชื่อมถนนอินทรพิทักษ์ (ทางแยกบางยี่เรือ) กับสะพานข้ามคลองบางหลวงน้อย
- ถนนกรุงธนบุรี เชื่อมถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินกับสะพานข้ามคลองบางไส้ไก่
- ถนนราชพฤกษ์ เชื่อมถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินกับสะพานข้ามคลองบางหลวงน้อย
- ถนนอินทรพิทักษ์ เชื่อมระหว่างวงเวียนใหญ่กับกับสะพานเนาวจำเนียร
เขตธนบุรีมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 3 แห่ง ได้แก่
- สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เชื่อมระหว่างเขตธนบุรีกับเขตพระนคร
- สะพานพระราม 3 เชื่อมระหว่างเขตธนบุรีกับเขตบางคอแหลม
- สะพานกรุงเทพ เชื่อมระหว่างเขตธนบุรีกับเขตบางคอแหลม
ทางรถไฟ
[แก้]

ใช้เส้นทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย จากสถานีรถไฟมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร
ทางบีอาร์ที
[แก้]
ทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
[แก้]
รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม(เตาปูน–ราษฎร์บูรณะ–ครุใน) กำลังก่อสร้าง
แหล่งน้ำ
[แก้]
แม่น้ำและลำคลองสายสำคัญในพื้นที่เขต ได้แก่
- แม่น้ำเจ้าพระยา
- คลองบางกอกใหญ่ (บางหลวง)
- คลองบางหลวงน้อย
- คลองบางน้ำชน
- คลองบางไส้ไก่
- คลองบางสะแก
- คลองสำเหร่
ชุมชน
[แก้]
- ชุมชนกุฎีจีน ชุมชนของชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกส
- ชุมชนบ้านลาว ชุมชนของชาวไทยเชื้อสายลาวที่มีชื่อเสียงในการทำขลุ่ย
- ชุมชนตากสินสัมพันธ์
ถนนเทอดไท เหล็กกล่องดำ : เหล็กกล่องชุบซิ้งค์ ถนนเทอดไท […]
ถนนเจริญนคร เหล็กกล่องดำ : เหล็กกล่องชุบซิ้งค์ ถนนเจริญ […]
ถนนอิสรภาพ ลูกหมุน ระบายอากาศ พร้อมแผ่นฐาน ถนนอิสรภาพ ล […]
ถนนอรุณอมรินทร์ แผ่นใส สีขาวขุ่น : แผ่นเดียว ก็ขาย ถนนอ […]
ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แผ่นใส ใสกระจก : แผ่นเดียว ก็ขาย […]
ถนนวุฒากาศ หลังคาเมทัลชีท : แผ่นเดียว ก็ขาย ถนนวุฒากาศ […]
ถนนราชพฤกษ์ เหล็กกล่องดำ : เหล็กกล่องชุบซิ้งค์ ถนนราชพฤ […]
ถนนมไหสวรรย์ เหล็กกล่องดำ : เหล็กกล่องชุบซิ้งค์ ถนนมไหส […]
ถนนประชาธิปก แผ่นใส สีขาวขุ่น : แผ่นเดียว ก็ขาย ถนนประช […]