Category Archives: จังหวัดฉะเชิงเทรา

จังหวัดฉะเชิงเทรา

จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับกรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี จังหวัดชลบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ รวมถึงมีอาณาเขตติดกับอ่าวไทยเป็นระยะสั้นประมาณ 12 กิโลเมตร

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

ที่มาของคำว่า “ฉะเชิงเทรา” มีข้อสันนิษฐานที่แตกต่างกัน 2 ข้อ คือ[3]

  • คำว่า ฉะเชิงเทรา มาจากคำภาษาเขมร 2 คำ คือ สทึง+เจรา ซึ่ง สทึง (ស្ទឹង) แปลว่า แม่น้ำสายย่อย และ เจรา (ជ្រៅ) แปลว่า ลึก เมื่อรวมความหมายก็ได้ว่า แม่น้ำลึก ซึ่งหมายถึงแม่น้ำบางปะกงนั่นเอง (มีผู้โต้แย้งข้อสันนิษฐานนี้ เนื่องจากว่าเมืองฉะเชิงเทรานั้นตั้งขึ้นมาในสมัยเดียวกับเมืองสาครบุรี เมืองนครไชยศรี และเมืองนนทบุรี ซึ่งไม่น่าจะมีคำเขมรมาปนอยู่ในชื่อเมืองแล้ว)
  • คำว่า ฉะเชิงเทรา อาจเพี้ยนมาจากคำว่า แสงเชรา แสงเซา หรือ แซงเซา (ข้อสันนิษฐานนี้ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน)

ประวัติ

[แก้]

ช่วงก่อนและต้นยุคทวารวดี มีชุมชนบ้านเมืองโบราณบริเวณสองฝั่งคลองลำน้ำท่าลาด หรือคลองท่าลาด ที่ไหลผ่านอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา หลายแห่งตั้งแต่บ้านเกาะขนุน ถึงบ้านท่าเกวียน ฯลฯ ช่วงปลายยุคทวารวดี ฉะเชิงเทราและดินแดนใกล้เคียงคือ เมืองมโหสถ (อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี) กับเมืองพระรถ (อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี) ต่างรุ่งเรืองขึ้นจากการค้าโลก และมีความเกี่ยวข้องเป็นเครือญาติกับกษัตริย์ขอมทั้งเมืองละโว้ (ลพบุรี) และเมืองพระนคร (กัมพูชา) จนหลังยุคขอมจนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น บริเวณลุ่มน้ำบางปะกง ตั้งแต่เขตฉะเชิงเทราถึงปราจีนบุรีกลายเป็นป่าดง เนื่องจากเป็นที่ดอนมากขึ้นจากทับถมของตะกอนปากแม่น้ำ ส่งผลให้เส้นทางคมนาคมออกอ่าวไทยไม่ค่อยสะดวกเช่นเดิม จนสมัยอยุธยาตอนกลาง สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โปรดให้ซ่อมแปลงคลองสำโรง ซึ่งเชื่อมแม่น้ำบางปะกง กับแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อให้สะดวกในการคมนาคม

ในสมัยรัชกาลที่ 3 หลังปี พ.ศ. 2369 ทรงยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ ได้มีการกวาดต้อนครัวลาวพวกหนึ่งมาอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำบางปะกง เกิดเมืองใหม่ชื่อ เมืองฉะเชิงเทรา แต่ปากชาวบ้านเรียกชื่อเดิมที่มีมาก่อนว่า เมืองแปดริ้ว (ปัจจุบันคือ อำเภอบางคล้า) มีการสร้างป้อมเมืองฉะเชิงเทราเพื่อป้องกันศึกญวนและเขมรที่มาทางแม่น้ำบางปะกง และอ่าวไทย ราวปี พ.ศ. 2377 ต่อมา พ.ศ. 2381 ให้อพยพครอบครัวเจ้าองค์ด้วง แห่งกัมพูชา เข้ากรุงเทพฯ ส่วนบ่าวไพร่ทั้งหลายให้อยู่เมืองฉะเชิงเทรา (บริเวณ ชุมชนวัดดอนทอง ปากคลองบางตีนเป็ด ตรงข้ามอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา)

ในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้ยกบ้านท่าถ่านเป็นเมืองพนมสารคาม (อำเภอพนมสารคาม) และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ปี พ.ศ. 2459 โปรดให้เมืองฉะเชิงเทรากับเมืองพนมสารคาม รวมกันสถาปนาเป็น จังหวัดฉะเชิงเทรา[4]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ภูมิประเทศของจังหวัดฉะเชิงเทราแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนตะวันตกของจังหวัดตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง ส่วนตะวันออกมีลักษณะเป็นเนินเขา ด้วยความสูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยกว่า 100 เมตร จังหวัดฉะเชิงเทรามีเกาะจำนวน 1 เกาะ คือ เกาะกลาง ที่บริเวณปากแม่น้ำบางปะกง

สัญลักษณ์ของจังหวัด

[แก้]

  • ตราประจำจังหวัด เป็นรูปพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหารหลังใหม่ หมายถึง ที่ประดิษฐานพระพุทธโสธร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญของเมือง ตำนานเล่าว่าเป็นพระพุทธรูปแสดงปาฏิหาริย์ ลอยทวนน้ำมา ขึ้นที่จังหวัด ชาวเมืองเคารพ ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บันดาลให้ดิน และน้ำอุดมสมบูรณ์ มีรูปครุฑ และชื่อจังหวัดฉะเชิงเทราอยู่ด้านล่างโบสถ์

สีหลังคาพระอุโบสถ : เป็นสีด่อน (สีเทาควันบุหรี่) ซึ่งเป็นจริงของหลังคาพระอุโบสถหลังใหม่

พื้นหน้าพระอุโบสถ : เป็นสีเทาอ่อน มิใช่สีดำ

ขอบสีรอบเครื่องหมายราชการ : เป็นสีแดงเลือดหมู ซึ่งเป็นสีประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา

  • ต้นไม้ประจำจังหวัด นนทรีป่า
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด นนทรี
  • สัตว์น้ำประจำจังหวัด ปลากะพงขาวหรือปลาโจ้โล้
  • ลักษณะรูปร่างของจังหวัดฉะเชิงเทรา ลักษณะรูปร่างของจังหวัดฉะเชิงเทรามีรูปร่างคล้ายกับ “ค้อนตอกตะปู”
  • คำขวัญประจำจังหวัด “แม่น้ำบางปะกงแหล่งชีวิต พระศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อโสธร พระยาศรีสุนทรปราชญ์ภาษาไทย เขาอ่างฤๅไนป่าสมบูรณ์”

หน่วยการปกครอง

[แก้]

การปกครองแบ่งออกเป็น 11 อำเภอ 93 ตำบล 859 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

จังหวัดฉะเชิงเทรามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 109 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา มีเทศบาล 34 แห่ง เป็นเทศบาลเมือง 1 แห่ง และเทศบาลตำบล 33 แห่ง ที่เหลือเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 73 แห่ง โดยเทศบาลทั้งหมดแบ่งตามอำเภอในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีดังนี้

ข้อมูลเทศบาลในจังหวัดฉะเชิงเทรา
ลำดับ ชื่อเทศบาล อำเภอ ครอบคลุมตำบล ประชากร (คน)
(ณ สิ้นปี 2567) [5]
ทั้งตำบล บางส่วน รวม
เทศบาลเมือง
1 เมืองฉะเชิงเทรา 1 1
36,318
เทศบาลตำบล
1 เมืองฉะเชิงเทรา 1 1
1,347
2 บางคล้า 1 1
9,913
3 บางคล้า 1 1
5,364
4 บางน้ำเปรี้ยว 1 1
1,520
5 บางน้ำเปรี้ยว 1 1
2,094
6 บางน้ำเปรี้ยว 2 2
2,258
7 บางน้ำเปรี้ยว 1 1
1,474
8 บางน้ำเปรี้ยว 1 1
8,620
9 บางน้ำเปรี้ยว 1 1
3,393
10 บางปะกง 1 1
3,780
11 บางปะกง 1 1
11,521
12 บางปะกง 1 1
7,370
13 บางปะกง 1 1
3,856
14 บางปะกง 1 1
5,893
15 บางปะกง 3 3
2,545
16 บางปะกง 1 1
1,261
17 บางปะกง 1 1
2,112
18 1 1 1
9,568
19 บางปะกง 1 1
17,328
20 บ้านโพธิ์ 2 2
4,105
21 บ้านโพธิ์ 1 1
2,881
22 บ้านโพธิ์ 1 1
4,148
23 บ้านโพธิ์ 1 1
5,385
24 พนมสารคาม 1 1
2,068
25 พนมสารคาม 1 1
16,375
26 พนมสารคาม 1 1
6,101
27 พนมสารคาม 1 1
10,195
28 พนมสารคาม 1 1
8,042
29 สนามชัยเขต 1 1
4,231
30 แปลงยาว 2 2
5,782
31 แปลงยาว 2 2
6,260
32 แปลงยาว 1 1
6,915
33 แปลงยาว 1 1
9,886 

ประชากร

[แก้]

สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา
ปี ประชากร ±%
2553 673,933
2554 679,370 +0.8%
2555 685,721 +0.9%
2556 690,226 +0.7%
2557 695,478 +0.8%
2558 700,902 +0.8%
2559 704,399 +0.5%
2560 709,889 +0.8%
2561 715,009 +0.7%
2562 720,113 +0.7%
2563 720,698 +0.1%
2564 724,178 +0.5%
2565 726,687 +0.3%
2566 730,543 +0.5%
อ้างอิง:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

การศึกษา

[แก้]

มหาวิทยาลัย

[แก้]

วิทยาลัย

[แก้]

ตำบลคลองเขื่อน หลังคา พียู ลายไม้

ตำบลก้อนแก้ว หลังคา แซนวิช พียูโฟม

ตำบล บางตลาด หลังคา พียู โฟม

Call Now Button